สถิติ
เปิดเมื่อ18/01/2012
อัพเดท3/08/2012
ผู้เข้าชม62520
แสดงหน้า110314
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับอิสราเอล (ตอนที่2)

อ่าน 1249 | ตอบ 0
ตอนที่ 2
 
ยุคสมัยอิมามโคมัยนี 1979-89

อิมามโคมัยนี้ ได้หยิบยกประเด็นความสำพันธ์ระหส่าง มูหมัด เรซา ปาห์เลวี ที่มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับอิสราเอล  มาเป็นประเด็นหลักของการโค่นล้มล้มชาฮฺ   อิมามโคมัยนีประกาศว่า  อิสราเอลนั้นเป็นศัตรูของอิสลาม  เป็น “ซาตานตัวเล็ก”  และสหรัฐอเมริกาถูกเรียกว่า “ซานตานตัวใหญ่”  ในการอภิปรายในทุกที่อิมามฯ เรียกร้องให้มีการลบอิสราเอลออกไปจากแผนที่  โดยถือเป็นนโยบายหลักของกองทัพ ในการหาวิธีที่กำจัดระบอบการปกครองของเยรูซาเล็มในขณะนั้นให้ออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์”

ในช่วงที่สองของการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979  ภายหลังจากการจัดตั้งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านแล้ว  อิหร่านได้ตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับอิสราเอลอย่างเป็นทางการ  และได้วางมาตราการต่อต้านไซออนิสต์อย่างแหลมคม และชัดเจน 
               
ในเรื่องนี้ ดร.ทรีทา ฟาร์ซี  ได้เขียนในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า พันธมิตรทุจริต : สัมพันธ์ลับ  อิหร่าน อิสราเอลและสหรัฐอเมริกา (พิมพ์ที่ มหาวิทยาลัย เยล 2007) มองว่า มันเป็นยุทธศาสตร์รัฐบาลอิมามโคมัยนี้ ที่ต้องการจะสกัดความช่วยเหลือของรัฐยิว ที่จะเข้ามาแทรกแซงในอิหร่าน
 
ยุคของท่าน อยาตุลลอฮ์อาลี คอมาเนอี 1989-ปัจจุบัน


ข้อสังเกตุของท่านผู้นำ อาลี คอมาเนอี
                ในธันวาคม ปี 2000 อายาตุลลอฮ์ อาลี คอมาเนอี   เรียกอิสราเอลว่า เป็นมะเร็งร้าย ที่ควรจะต้องเอาออกไปจากพื้นที่   ปี 2005 เขาเน้นย้ำว่า แผ่นดินปาเลสไตน์ ต้องเป็นของปาเลสไตน์  และชาวปาเลสไตน์จะต้องเป็นผู้ที่กำหนดชะตากรรมของแผ่นดินปาเลสไตน์   ในปีเดียวกันนั้น  ท่านอาลี คอมาเนอี  ได้สนับสนุนจุดยืนของประธานาธิบดี อะห์มาดีเนจาด  ที่ประกาศว่า  อิสราเอล ควระถูกกำจัดให้สิ้นซากออกไปจากแผนที่  อีกทั้งประกาศว่า สาธารณรัฐอิสลามไม่เคยข่มขู่และจะไม่คุกคามประเทศใด
 
ยุคของประธานธิบดี คอตามี  1997-2005
            .ในปี 1997  ภายใต้ระบอบการปฏิรูปของอิหร่าน  นายมูฮัมมัด คอตามี ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี  หลายคนเชื่อว่า ในยุคสมัยนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับอิสราเอลจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น   แต่ประธานาธิบดีคาติมี กลับเรียกอิสราเอลว่า “เป็นรัฐที่ผิดหมาย  และเป็นรัฐกาฝาก  แต่ท่านก็ได้ประกาศจุดยืนในปี 1999 ว่า ชาวยิวทุกคนจะปลอดภัยในอิหร่าน  และชนกลุ่มทางศาสนาในอิหร่านทั้งหมด จะได้รับการคุ้มครอง  แต่มีรายงานบ่งชี้ว่า ในช่วงปี 2003 อิหร่านเริ่มสร้ายสายสัมพันธ์กับอิสราเอล  โดยตระหนักถึงการมีอยู่ของรัฐอิสราเอล อีกทั้งยังมีข้อเสนอสันติภาพมากมายไปยังสหรัฐอเมริกา  รายงานยังระบุอีกว่า ข้อเสนอสันติภาพระหว่างอิหร่านกับอิสราเอลนั้นไม่ถูกตอบรับจากสหรัฐอเมริกา  ในปี 2004 คาตามิ ได้ตอบคำถามแก่นักข่าวอิสราเอล   และยอมรับในการมีอยู่ของรัฐอิสราเอล  ซึ่งนั่นถือเป็นครั้งแรกที่เขาพูดต่อหน้าสาธารณะชนชาวอิสราเอล  และในเดือนเมษายน 2005 ซึ่งเป็นงานศพของพระสันตะปาปา จอห์นปอลที่ 2  คอตามี  ได้นั่งติดกับประธานาธิบดี อิสราเอลโมเซ่ คัทซาบ  ซึ่งเป็นชาวยิวที่เกิดในอิหร่าน  เขาทั้งคู่เป็นคนที่มาจากจังหวัดยาซด์ ในอิหร่านเหมือนกัน   ทั้งคู่ได้จับมมือกัน  และต่างก็สนทนากันสั้นเกี่ยวกับอิหร่าน  แต่คาตามี  ปฏิเสธ
 
ในยุคของประธานาธิบดี อาห์มาดีเนจาด
                มะฮ์มูด  อะห์มาดีเนจาด ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอิหร่านนเดือนสิงหาคม 2005  ทันทีที่เขาดำรงตำแหน่ง  ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน  เขาได้จัดให้มีการประชุมระหว่างประเทศขึ้นที่เตหะราน ในหัวข้อเรื่อง เมื่อโลกปราศจากไซออนิสต์   นับเป็นการต่อต้านลัทธิไซออนิสต์ที่ชัดเจนที่สุด  ในวันที่ 8 เดือนธันวาคม 2005  ในช่วงระหว่างการประชุมสุดยอดประเทศมุสลิม ที่มหานครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาราเบีย   อะห์มาดีเนจาด ได้ให้สัมภาษณ์ สถานีโทรทัศน์ ช่องภาษาอาหรับ (อัลอาลัม) ที่มีอิหร่านเป็นเจ้าของ  ถึงเลห์กล การสร้างความหายหนะของรัฐบาลอิสราเอล  นับตั้งแต่นั้นมัน  ประเด็นการก่อความเสียหายของอสราเอลจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นการสัมมนาระหว่างประเทศของโอไอซีมาตลอด
 
บทบาทของซุลตอเนฮ์  เอกอัครราชทูตของอิหร่านใน IAEA
                ในเดือนเมษายน /2006  วู๊ฟ บริทเซอร์ ผู้สื่อข่าว ซีเอ็นเอ็น  ได้สัมภาษณ์ซุลตอเยฮ์ เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำIAEA 
          บริทเซอร์ (......) นี่คืออะไร  (........) ที่อะห์มาดีเนจาด พูด(......)  “อิสราเอลต้องถูกลบออกจากแผนที่โลก” และพระเจ้ากำลังจะ(.........) เราจะได้สัมผัสกับโลกที่ไม่ต้องสหรัฐและไซออนิสต์” คุณเข้าใจหรือว่าทำไม ผู้คนในตะวันตก (.........) เขารู้สึกวิตกกังวล(........)ในการที่ไปสร้างภัยคุกคามโดยตรงกับอิสราเอล(......)”
                ซุลตอเนฮฺ : “(........) นโยบายของสาธารณรัฐอิสลาม (........)  เราได้ทำการสั่งสอนมาต้นแต่ต้นแล้วว่า เราจะต่อต้านระบบการปกครองที่กดขี่ เหยียดผิว  และโดยเฉพาะระบอบไซออนิสต์ (........) ซึ่งมันจะต้องหายไป  และมันก็ไม่ถูกยอมรับในโลกศิวิไลน์นี้   และระบอบไซออนิสต์ มันเป็นการรุกรานประชาชาติ  และมันควรที่จะต้องถูกประนาม (.......)
                บริทเซอรฺ :  คุณไม่ต้องการสนับสนุน และต้องการที่จะกำจัดระบอบไซออนิสต์ออกไป นั่นหมายความว่าคุณต้องการที่จะให้อิสราเอลถูกทำลายหรือ?”
                ซุลตอเนฮ์ : (.......) ชาวยิว  คริสเตียน และมุสลิม (......) พวกเขาทั้งหมด เป็นชาวปาเลสไตน์   แต่ชาวปาเลสไตฯเหล่านั้น กลับไร้ที่อยู่ในดินแดนของเขา  และกระบวนการประชาธิปไตยของเขา ก็สามารถที่จะตัดสินใจเองได้เกี่ยวกับเรื่องของดินแดนและสันติภาพของพวกเขาเองได้  (.....) และอิหร่านก็สนับสนุน  เรา(......) สนับสนุน การตั้งถิ่นฐานอย่างสงบ บนพื้นฐานของสันติภาพ  และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ในตะวันออกกลางแห่งนี้    เราหวังที่จะให้เกิดสันติภาพ
                บริทเซอร์ :  แต่เราก็ควรที่จะคำนึงถึงสถานภาพของอิสราเอลด้วยมิใช่หรือ?
                ซุลตอเนฮ์ : “ผมคิดว่าผมได้ให้คำตอบแก่คุณแล้วนะ   ถ้าอิสราเอลยังคงถูกครอบงำโดยลัทธิไซออนิสต์   ไม่   แต่ถ้าคุณไปสรุปว่า เราหมายความว่าคนที่นั่นจะต้องถูกลบออก  หรือ ต้องถูกสังหารหมู่  นั่นคุณกำลังอุตริมันขึ้นมา  ผมถือว่านั่นเป็นการคิดร้ายต่อนโยบายของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (......)
               
             รองประธานาธิบดี  มาชาอี
            การปราศรัยใน การประชุมว่าด้วยการเที่ยว ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเตหะราน ในเดือนกรกฏาคม 2008  อิสฟันดาร์  ราฮิม มาชาอี รองประธานาธิบดี และกำกับดูแล องค์กรมรดกทางวัฒนธรรมของอิหร่าน   ได้ประกาศว่า “ ไม่มีประชาชาติใดในโลกเป็นศัตรูของเรา   อิหร่านเป็นเพื่อนกับทุกประเทศ รวมถึงชาวอเมริกันและอิสราเอล เรายืนยันด้วยเกียรติของเรา   และเราก็มองว่าประชาชาติอเมริกา เป็นประชาชาติที่ยิ่งใหญ่ของโลก”  นอกจากนี้เขายังกล่าวเสริมว่า อิหร่าน ไม่ต้องการทำสงครามกับประเทศใดๆ   และยืนยันว่าในช่วงระหว่างสงครามระหว่างอิหร่านกับอิรักนั้น ล้วนแต่เป็นสงครามเพื่อป้องกันตัวเองทั้งสิ้น    มีข้อที่น่าสังเกตุว่าคำปราศรัยที่แข็งกร้าวของรองประธานาธิบดี มาชาอีนั้นถูกโจมตี    อย่างไรก็ตาม  อะห์มาดีเนจาด ก็ยังคงปกป้องเขา   อะมาดีเนจาด ได้กล่าวถึงจุดยืนของอิหร่านอีกครั้งการประชุมครั้งใหม่   พร้อมทั้งกล่าวปราศัยว่า “ ประชาชาติอิหร่าน ไม่เคยยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล”แต่เรารู้สึกสงสาร  สำหรับผู้คนที่พยายามที่จะลักลอบเข้าไปอยู่ในอิสราเอล ซึ่งมันเป็นรัฐที่กดขี่  ในประเด็นดังกล่าวนี้ได้ถูกแจ้งไปยังผู้นำสูงสุด อะลี คอมาเนอี  ท่านได้ออกมาเรียกร้องให้ จบการโต้เถียงกันเอง เกี่ยวกับเรื่องของอิสราเอล  ในช่วงของคุตบะฮ์วันศุกร์ ที่กรุงเตหะราน โดยท่านได้กล่าวว่า “ “มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง   ไม่มีเหตุผล  ไร้แก่นสาร ไร้สาระ ที่จะกล่าวว่าเราเป็นเพื่อนกับอิสราเอล .... เราอยู่ในห้วงของการแตกหักกับระบอบไซออนิสต์ที่ครอบครองปาเลสไตน์ นี่คือจุดยืนของระบอบการปฏิวัติของเรา  และของชาวอิหร่านทุกคน
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :